Event

ยู๶Ȩโกจัึϸาน๶สวȨสาธารณะเกี่ยวกับบทบาทྺองแพลทฟอร์มดิจิทัลในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างถ้วนหน้าในประเทศไทย

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันสากลแห่งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจัดขึ้นในวัȨี่ 28 กันยายนของทุกปี เวทีเสวนาสาธารณะนี้จะประมวลว่า ข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงได้จากพื้นที่ออนไลน์และผ่านทางอินเทอร์เน็ตส่งผลอย่างไรต่อความสามารถของประชาชนไทยในการใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในภาคประชาสังคม
#AccessToInfoDay banner
Event
International Day for Universal Access to Information 2023 The importance of the online space for access to information: Digital platforms and civic participation in Thailand
-
Location
Bangkok, Thailand
Rooms :
Bangkok, Thailand
Type :
Cat VIII - Symposia
Arrangement type :
Virtual

เพื่อรำลึกถึงวันสากลแห่งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (IDUAI) 2023  ยู๶Ȩโก ร่วมกับ &Բ;และ&Բ; จัดกิจกรรมเสวนาสาธารณะเพื่อวิเคราะห์การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (ATI) ในประเทศไทย โดยการริเริ่มครั้งนี้จะเป็นเวทีให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน รวมถึงผู้คุ้มครองสิทธิและผู้ทรงสิทธิ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและพิจารณาว่าข้อมูลบนพื้นที่ออนไลน์มีอิทธิพลต่อความสามารถในการใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของพลเมืองไทยอย่างไร

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นเงื่อนไขจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างถ้วนหน้า ด้วยเหตุนี้ เมื่อรัฐบาลปิดหรือจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตย่อมส่งผลอย่างรุนแรงต่อการใช้สิทธิมนุษยชนและการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย

การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสิทธิมȨษยชนในประเทศไทย

การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นตัวขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนในวงกว้างไม่เพียงแต่ในมุมของเสรีภาพในการแสดงออกเท่านั้น เมื่อกระบวนการพัฒนาให้เป็นดิจิทัลมีความก้าวหน้าขึ้น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตยังมีความสำคัญต่อการบรรลุสิทธิด้านการศึกษา ด้านการรวมกลุ่มและการชุมนุม ด้านการมีส่วนร่วมทางสังคมวัฒนธรรมและการเมือง ด้านสุขภาพ ด้านมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ รวมถึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดความกลมเกลียวทางสังคม และการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองอย่างถ้วนหน้า 

เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความแข็งแกร่งของระบอบประชาธิปไตยเกื้อกูลกันและกัน จึงหมายความว่า การจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือการไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะบนพื้นที่ออนไลน์ย่อมเป็นการบ่อนทำลายความสามารถในการใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของปัจเจกบุคคล และยับยั้งไม่ให้สถาบันต่าง ๆ ทำหน้าที่ของตน ซึ่งรวมถึงหน้าที่ในบริบทของการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

ประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงอิȨทอร์๶Ȩตอยู่ที่&Բ;85.3%[1] โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 61.2 ล้านคน ณ เดือนมกราคม 2566  ซึ่งพัฒนาโดย Economist Impact จัดให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 22 จาก 100 ประเทศทั่วโลกในแง่ของความพร้อมใช้งานของอินเทอร์เน็ต โดยพิจารณาจากคุณภาพและความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ซึ่งจำเป็นสำหรับการเข้าถึงและระดับของการใช้อินเทอร์เน็ต[2] อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะมีอัตราการเข้าถึงและความพร้อมใช้งานของอินเทอร์เน็ตในระดับสูง ทว่า การเซ็นเซอร์ออนไลน์ก็ยังมีอยู่อย่างแพร่หลาย เจ้าหน้าที่ในประเทศไทยมีอำนาจอย่างกว้างขวางในการจำกัดการแสดงออกทางออนไลน์ กำหนดการเซ็นเซอร์ และบังคับใช้การสอดแนม ประเทศไทยได้รับการจัดอยู่ในหมวด ‘ไม่เสรี’ ในของ Freedom House เกี่ยวกับเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต ตลอดจนสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพของพลเมืองในปี 2023

ท่ามกลางพื้นที่พลเมืองและพื้นที่สาธารณะสำหรับการสนทนาและการแสดงออกทางการเมืองที่ลดลงเรื่อย ๆ ประชาชนในประเทศไทยหันมาพึ่งสื่อสังคมออนไลน์ เครื่องหมายแฮชแท็ก (#) กลายเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้บ่อยขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อการแสดงออกทางการเมืองทุกประเภทแม้กระทั่งในประเด็นต้องห้าม เช่น ประเด็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เมื่อใดก็ตามที่ผู้มีอำนาจพยายามจำกัดช่องทางโซเชียลมีเดียที่มีอยู่ ชาวเน็ตในไทยก็จะแสวงหาแพลตฟอร์มใหม่เพื่อใช้สำหรับการแสดงออกทางการเมือง[3] 

ท่ามกลางบริบทนี้ การเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมานับเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีตั้งแต่เกิดรัฐประหารในปี 2557 ที่พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยกลับมาได้รับชัยชนะการเลือกตั้งและได้พยายามที่จะจัดตั้งรัฐบาลก่อนที่จะโดนสกัดกั้นจากเงื่อนไขของการโหวตในรัฐสภา ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนไทยเกือบ 40 ล้านคน หรือ 75% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียง ซึ่งถือเป็นอัตราการใช้สิทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีการสังเกตการณ์และติดตามการเลือกตั้งและการนับคะแนนครั้งนี้อย่างเข้มข้นจากองค์กรภาคประชาสังคมทั้งในและต่างประเทศ มีการใช้เทคโนโลยีสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตเพื่อรายงานผลนับคะแนนในหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศแบบเรียลไทม์ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์[4] 


[1] พัฒนาโดยเอเจนซีโฆษณาแบบสร้างสรรค์ We Are Social&Բ;และ&Բ;Meltwater

[2]

[3]

[4] อ่านเพิ่มได้ที่: 

ยู๶Ȩโกและองค์กรเจ้าภาพร่วมสำรวจผลกระทบของแพลตฟอร์มออȨลน์ใȨาร๶ข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

ผู้คุ้มครองสิทธิจะได้รับเชิญให้นำเสนอเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะทางออนไลน์ผ่านกรอบกฎหมาย รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด หรือนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ในขณะที่ฝ่ายผู้ทรงสิทธิจะแบ่งปันประสบการณ์จากมุมมองของผู้ใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ข้อมูลข่าวสารสาธารณะออนไลน์ที่เข้าถึงได้จะช่วยในเรื่องพื้นที่ประชาสังคมและก่อให้เกิดภาระความรับผิดชอบของหน่วยงานสาธารณะและการมีส่วนร่วมของประชาชนได้อย่างไร

กิจกรรมนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของทั้งผู้คุ้มครองสิทธิและผู้ทรงสิทธิในการติดตามและรณรงค์เรื่องความคืบหน้าในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าประสงค์การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าประสงค์ที่ 16.10 

กลุ่มเป้าหมาย

  • หน่วยงานกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ของประเทศไทยและสถาบันของรัฐที่กำกับดูแลและให้ข้อมูลสาธารณะทางออนไลน์ เช่น สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร (สนข.) และ กรุงเทพมหานคร (กทม.)
  • Ȩกศึกษาและนักวิชาการ
  • Think tanks, องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs), องค์กรระหว่างประเทศ
  • ผู้มีส่วȨึϹส่วน๶สียที่๶กี่ยวྺ้อง
  • Ȩกྺ่าวและองค์กรสื่อ

กำหนึϸาร๶บื้องต้น

panel discussion IDUAI 2023 Thailand

วัȨี่

28 กันยายน 2566

๶วลา

14.00 – 17.00 น. (๶วลากรุงเทพฯ UTC+7)

สถานที่จัดงาน

ห้องประชุมทีดีอาร์ไอ ถ่ายทอดสดทางโซเชียลมีเดีย

ภาษา

ภาษาไทยและอังกฤษ (โดยมีบริการล่ามพูดพร้อม) 

การลงทะเบียนสำหรับผู้เข้าร่วมทางออȨลน์

ท่านจะได้รับรายละเอียด๶กี่ยวกับการเข้าร่วมงาน๶สวȨหลังจากที่ได้ลงทะเบียนแล้ว

กำหนึϸารงาȨสวȨ

14.10-14.15 
กล่าวเปิด&Բ;

  • โจ ฮิโรนากะ ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและสารสนเทศ ยู๶Ȩโก กรุงเทพฯ
  • รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

14.15-14.30
Keynote: การดำเนินการเพื่อการเข้าถึงการใช้ข้อมูลและการถอดบทเรียน 

  • โจ ฮิโรนากะ ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและสารสนเทศ ยู๶Ȩโก กรุงเทพฯ

14.30-15.15 
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต – ผู้คุ้มครองสิทธิในประเทศไทยกับการอำนวยความสะึϸกเพื่อการเข้าถึงข้อมูลออȨลน์ྺองสาธารณชน

  • พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ กับการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ Ȩ๶สนอโึϸ ภาวนา ฤกษ์หร่าย สำȨกงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารྺองราชการ
  • ธรรมาภิบาลและความโปร่งใสผ่านการเข้าถึงข้อมูลแบบเปิด Ȩ๶สนอโึϸ ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  
  • ผู้ดำเนินรายการ: รศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสื่อไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

15.15-16.30  
การอภิปราย:&Բ;การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากมุมมองของผู้ทรงสิทธิ

  • ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอรัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) และผู้ร่วมก่อตั้ง HAND Social Enterprise 
  • ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้ง The Reporters / ผู้สื่อข่าว ข่าว 3 มิติ
  • อัมรินทร์ สายจันทร์ นักกฎหมายมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
  • วรภพ วิริยะโรจน์ สมาชิกบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล
  • ผู้ดำเนินรายการ:  รศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสื่อไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

16.30-16.50 
กล่าวปิด

  • ยู๶Ȩโก

For further information

แผนกสื่อสารและสารสนเทศ ยู๶Ȩโก กรุงเทพฯ 
อี๶มล: ci.bgk(at)unesco.org

#AccessToInformation

More from UNESCO Bangkok