Idea
ดลใจด้วยภาพเคลื่อนไหว: สันติศึกษาผ่านภาพยนตร์

สันติภาพหมายรวมถึงภาวะที่ปราศจากความรุนแรงโดยตรง (“สันติภาพเชิงลบ”) และภาวะที่มีความยุติธรรมทางสังคม (“สันติภาพเชิงบวก”) ดังนั้น จุดมุ่งหมายของสันติศึกษาคือ บ่มความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และค่านิยมที่จำเป็นในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สร้างสภาวะสำหรับการปลดปล่อยทั้งปัจเจกบุคคลและส่วนรวมจากการกดขี่ทุกรูปแบบ และหล่อหลอมสังคมที่เสมอภาคและนับรวมทุกกลุ่มคน
ทว่านักการศึกษาต้องเผชิญกับความท้าทายที่หนักหน่วง เพราะสันติภาพไม่ใช่สิ่งที่สามารถบัญชาหรือเทศนาให้บังเกิดได้ สันติศึกษาไม่ได้อาศัยความรู้เชิงเทคนิคหรือสูตรตายตัว แต่ต้องอาศัยความฉลาดทางอารมณ์เพื่อหล่อเลี้ยงวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ
เนื่องจากธรรมชาติของสันติศึกษาเน้นสหวิทยาการและอาจนิยามได้ด้วยความไม่จีรัง จึงควรนำศาสตร์การสอนที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้หรือคิดค้นขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในท้องถิ่น
เมื่อนำมาเป็นส่วนประกอบของศาสตร์การสอนที่ใช้ศิลปะเป็นฐาน สื่อภาพยนตร์สามารถช่วยปลูกฝังการรับรู้และคิดสะท้อนอย่างมีสติให้กับนักเรียน ซึ่งเอื้อต่อการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่นและความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม
แต่เหตุใึϸาพยนตร์จึงมีอิทธิพลเช่Ȩี้
การใช้ภาพยȨร์ป็Ȩื่อให้ความรู้ใȨึϸต
คุณค่าของภาพยนตร์สำหรับการศึกษาเป็นสิ่งที่ผู้คนตระหนักมานานแล้ว ในปี พ.ศ. 2455 หนังสือพิมพ์นิวยอร์คอีฟนิ่งเจอร์เนิลได้เผยแพร่บทบรรณาธิการที่พาดหัวว่า “พลังแห่งภาพเคลื่อนไหว จะมอบการศึกษาผ่านการรับชมของเด็กหลายร้อยล้านคน” หัวใจสำคัญคือ ภาพยนตร์สามารถมอบโครงสร้างเรื่องราวให้กับกาลเวลา จึงทำให้ผู้ชมตราตรึงใจกับโอกาสในการไตร่ตรองประสบการณ์และปรับสมมุติฐานของตน
บ่งชี้ว่า สันติภาพเป็นปรากฏการณ์ที่เน้นความหลากหลายและความสัมพันธ์ โดยจะต้องรองรับภาพและความพยายามจากวัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งจากกลุ่มชายขอบของสังคมด้วย ภาพยนตร์นำภาพและความพยายามเหล่านี้มาถักทอให้เป็นโครงเรื่อง ตัวละคร และประสบการณ์ทางสุนทรียะที่เข้าถึงความละเอียดอ่อนของผู้ชมอย่างไม่อาจต้านทานได้
Ȩตยสาร ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2498 เล็งเห็นศักยภาพของภาพยนตร์ในการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม “ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันนี้ ใคร ๆ ก็สามารถไปโรงภาพยนตร์ในประเทศกรีซ เพื่อชมภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่พูดภาษาญี่ปุ่นและมีคำบรรยายเป็นภาษากรีก นี่ถือเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อเมื่อไม่กี่ปีที่แล้วเอง”
ในการสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ร้อยละ 98 ของครูจากทั่วสหราชอาณาจักรที่ทำแบบสำรวจดังกล่าวตอบว่า “ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือการสอนที่มีประโยชน์” และครูทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า “การได้ชมภาพยนตร์หลากหลายประเภทช่วยประเทืองความเข้าใจของเด็ก ๆ เกี่ยวกับโลกและวัฒนธรรมอื่น ๆ”
ผู้สร้างภาพยȨร์ชาวแอฟริกัȨห้ความรู้เกี่ยวกับมรึϸในภูมิภาค
เรามาดูโครงการริเริ่มที่สะดุดตาเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน ในปี พ.ศ. 2564 ยูเนสโกและเน็ตฟลิกซ์ได้เปิดตัวการแข่งขัน “African Folktales Reimagined” ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้สร้างภาพยนตร์ชาวแอฟริกันรุ่นใหม่และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและความหลากหลายเชิงสร้างสรรค์ของทวีปแอฟริกาบนเวทีโลก โดยมีการมอบทุนการผลิตภาพยนตร์ให้กับผู้เข้ารอบสุดท้าย 6 คน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดสำหรับหลายภาษาที่เริ่มออกอากาศบนเน็ตฟลิกซ์เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566
ผู้สร้างภาพยȨร์ชาวไȨีเรีย&Բ; ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินการแข่งขันครั้งนี้ ย้ำว่าโครงการนี้มีความสำคัญ “เพราะการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การเดินทางสู่โลกแห่งประวัติศาสตร์ที่ไม่เป็นที่รู้จัก เพื่อให้เราสามารถปลูกฝังความเคารพและความเข้าใจที่จำเป็นต่อการรักษาและดำรงไว้ซึ่งความนับถือซึ่งกันและกันและสันติภาพบนโลกใบนี้” ชุึϸาพยนตร์สั้นชุดนี้ยังมีความโดดเด่นเนื่องจากมีตัวเอกหญิงที่เข้มแข็ง และสื่ออย่างแน่วแน่ให้เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ เช่น ความรุนแรงบนฐานของเพศสภาพ การฆ่าตัวตาย และการแต่งงานในวัยเด็ก
ด้วยหนังสั้นเรื่อง MaMlambo ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวแอฟริกาใต้ ต้องการที่จะล้มล้าง “การพรรณนาแบบปิตาธิปไตยที่พบได้ทั่วไป” ในนิทานพื้นบ้าน โดยผู้หญิงมักถูก “ใส่ร้ายและทำให้อับอาย” ในขณะเดียวกัน ภาพยนตร์นี้ก็สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงเชิงโครงสร้างต่อสตรีในปัจจุบัน ซึ่งยังคงขัดขวางสันติภาพเชิงบวกในแอฟริกาใต้และที่อื่น ๆ

ภาพยȨร์พื่อสริมศักยภาพให้กับผู้รียนในปัจจุบัน
แม้เราจะไม่สามารถบัญชาให้สันติภาพบังเกิดได้ แต่ภาวะที่มีสันติภาพ (หรือแม้แต่ภาวะที่ไร้สันติภาพ ซึ่งยังคงเป็นความจริงที่น่าอนาถสำหรับหลาย ๆ คน) คือสิ่งที่เราสามารถรับรู้และสัมผัสได้ในมิติอารมณ์ของชีวิตเราและผ่านจินตนาการอันล้ำเลิศที่เราพัฒนาขึ้นจากการเข้าถึงภาพยนตร์ต่าง ๆ
หากเราเชื่อตามที่สื่อรายงานเป็นประจำว่า เยาวชนในปัจจุบันไม่สนใจการเมืองอีกต่อไปเพราะไม่สามารถศรัทธาอุดมการณ์หรืออุดมคติใด ๆ ได้ ลองสังเกตพวกเขาในขณะที่รับชมภาพยนตร์
อาจกล่าวได้ถูกต้องว่าเยาวชนหลังยุคนวนิยม “ไม่เชื่อในอภิตำนาน” แต่ภาพยนตร์ก็ยังสามารถปลูกฝังความละเอียดอ่อนต่อหลากหลายประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ปฏิวัติจิตใจได้
ในยุคของเนื้อหาภาพและเสียงที่แพร่หลาย สันติศึกษาควรใช้ประโยชน์จากประสบการณ์รับชมภาพยนตร์ที่มีชีวิตชีวาและกระตุ้นพหุประสาทสัมผัสเพื่อเข้าถึงและจุดประกายนักเรียน
แท้จริงแล้ว ชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรที่ใช้สื่อภาพยนตร์อย่างเป็นระบบสามารถส่งเสริมความรับผิดชอบส่วนบุคคลและพฤติกรรมเชิงบวก เมื่อพิจารณาในมุมกว้าง เรื่องเล่าต่าง ๆ ที่เราพบเจอ ทั้งที่มาจากชีวิตจริงและที่เป็นนิยาย หรือแม้กระทั่งที่เราเป็นผู้ประพันธ์และกำกับออกแบบในชีวิตของเราเอง ล้วนมีบทบาทในการหล่อหลอมลักษณะอัตวิสัยของเรา
ในการรังสรรค์วัฒนธรรมแห่งสันติภาพ อะไรจะสำคัญไปกว่าการหล่อหลอมอัตวิสัยและอันตรอัตวิสัย ที่สุดแล้ว การเรียนรู้ด้วยภาพยนตร์อาจเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมศักยภาพให้ผู้เรียนเจริญก้าวหน้าในฐานะผู้สร้างสรรค์สันติภาพ
บทความȨ้เป็Ȩบับแปลภาษาไทยྺอง
#SocialTransformation #YouthEmpowerment