National Collection of Palm-Leaf Manuscripts of Phra That Phanom Chronicle

Story

‘ความศรัทธาทำให้ทุกอย่างออกมาสวยงามę

ตำนานพระธาตุพนมกำเนิดจากศรัทธา สืบสานด้วยภูมิปัญญางานฝีมือ และทวีความศักดิ์สิทธิ์ด้วยกาลเวลา จึงเผยความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณกับปูชนียสถานสำคัญในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง

คุณเอมอร เชาวน์สวน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาโบราณ ณ หอสมุดแห่งชาติ กล่าวว่า ‘ถ้าจารผิด จะต้องทิ้งไปเลย[ทั้งหน้า]’ ขณะที่เธอและเพื่อนร่วมงานจัดวางคัมภีร์ใบลานจำนวน 10 รายการไว้บนโต๊ะอย่างเรียบร้อย โดย 10 รายการนี้เป็นตัวอย่างที่สำคัญของเอกสารจำนวนมหาศาลที่บันทึกและเผยแพร่วรรณกรรมพุทธศาสนาเรื่องอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ด้วยอักษรธรรมอีสาน 

Wat Phra That Phanom

วัึϸระธาตุพนมวรมหาวิหาร

 

ในห้องโอ่โถงที่เก็บรักษาเอกสารโบราณ ณ หอสมุดแห่งชาติ คุณเอมอรดูผ่อนคลายสบายใจท่ามกลางนิทรรศการถาวรที่จัดแสดงสมุดไทย (สมุดข่อย) คัมภีร์ใบลาน และศิลาจารึก 

 

Permanent exhibits of historical documents, National Library of Thailand

นิทรรศการเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติ

 

ด้วยความคุ้นเคยกับเนื้อหา (ซึ่งมักซ่อนเร้นอยู่ในรูปของอักษรลึกลับที่คุณเอมอรต้องปริวรรต คัด ถ่ายถอดอย่างพิถีพิถันเพื่อให้สาธารณชนเข้าถึงได้มากขึ้น) และกับพาหะสำหรับมรดกเอกสารอันทรงคุณค่าในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน คุณเอมอรบรรยายอย่างละเอียดถึงกระบวนการผลิตคัมภีร์ใบลาน ซึ่งต้องอาศัยความมานะแรงกล้า แล้วชี้ไปที่ตัวอย่างการออกแบบที่บรรจงและการใช้วัสดุอันล้ำค่าอย่างเชี่ยวชาญ ซึ่งแสดงเป็นประจักษ์จับต้องได้ถึงทักษะฝีมืออันวิจิตรประณีต

คุณเอมอรกล่าวว่า ‘ความศรัทธาทำให้ทุกอย่างออกมาสวยงามę

 

Elaborate lacquered wooden covers for palm-leaf manuscripts

ไม้ประกับคัมภีร์ใบลาȨงรักลวึϸายบรรจง

 

เนื่องจากเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาที่ได้รับการเทิดทูนสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (โดยเฉพาะประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย) ตำนานพระธาตุพนมจึงได้รับการคัดลอกและถ่ายทอดอย่างแพร่หลายในรูปแบบคัมภีร์ใบลานที่จัดทำขึ้นเพื่อถวายทำบุญ จึงยังพบได้หลากหลายฉบับตามวัดและสถาบันเก็บรักษามรดกความทรงจำทั่วภูมิภาค คุณสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก กล่าวว่า ‘10 ชุดที่อยู่ในหอสมุดแห่งชาติเป็นตัวแทนของความหลากหลายนั้น ก็ทำให้เกิดการศึกษาเปรียบเทียบกันได้’ ที่น่าสังเกตคือฉบับ 7 ผูก ซึ่งได้ถวายให้กับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (พ.ศ. 2399-2468) ในสมัยที่ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ และใช้อ้างอิงในการตีพิมพ์ตำนานพระธาตุพนมฉบับสมบูรณ์เป็นครั้งแรก

 

Krom Luang Prajak Silpakom

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

 

Krom Luang Prajak Silpakom’s version of the Phra That Phanom Chronicle

ตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ฉบับซึ่งกรมหลวงประจักษ์ฯ ประทานไว้สำหรับหอสมุดแห่งชาติ

 

แม้จะแตกต่างกันในแง่ความยาว ที่มา และผู้สร้าง แต่คัมภีร์ใบลานทั้ง 10 ฉบับล้วนกล่าวถึงต้นกำเนิดของพระธาตุพนม ปูชนียสถานสำคัญซึ่งโครงสร้างเก่าแก่ที่สุดมีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 อย่างไรก็ตาม ตำนานพระธาตุพนมกล่าวว่า พระธาตุอันเลื่องชื่อองค์นี้สร้างขึ้นโดยพระมหากัสสปะ พระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า โดยมีท้าวพญา 5 องค์เป็นประธานการก่อสร้างมากกว่าหนึ่งพันปีก่อนอายุที่อ้างอิงตามหลักฐานทางโบราณคดี

 

Main gate of Wat Phra That Phanom in 1953

ประตูทางเข้าวัดพระธาตุพนม พ.ศ. 2496

 

แท้จริงแล้ว ตำนานพระธาตุพนมนำเสนอเรื่องราวที่มีสีสันเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จเยือนลุ่มน้ำโขงในสมัยพุทธกาล พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ทรงสั่งสอนหมู่นาคให้มีเมตตากรุณาแก่มนุษย์ทั้งหลาย ทรงประทับรอยพระบาทไว้เป็นอนุสรณ์ และทรงรับสั่งว่า เมื่อพระองค์เสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน ให้นำพระอุรังคธาตุมาประดิษฐานที่ภูกำพร้า ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนมในปัจจุบัน

สาเหตุหลักที่ทำให้ตำนานนี้มีเสน่ห์และเป็นที่กล่าวขานจนถึงปัจจุบันน่าจะมาจากการผสมผสานเรื่องราวอัศจรรย์ของต้นกำเนิดพระธาตุพนมและศาสนสถานอื่น ๆ เข้ากับรายละเอียดที่สมจริงในการบรรยายภูมิศาสตร์โบราณและบริบททางสังคมการเมืองในภูมิภาค การอ้างอิงถึงพระพุทธเจ้าทำให้สถานที่ต่าง ๆ ในท้องถิ่นมีความศักดิ์สิทธิ์ ในขณะที่รายละเอียดทางภูมิศาสตร์ทำให้มิติอัศจรรย์ของตำนานนี้หยั่งรากฐานเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมที่ชุมชนท้องถิ่นคุ้นเคย จึงเป็นไปได้ว่าชุมชนดังกล่าวสามารถสัมผัสกับเรื่องราวนี้ประหนึ่งประสบการณ์ ‘ความเป็นจริงเสริม’ (augmented reality) ที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย แต่ด้วยพลังแรงกล้าแห่งศรัทธาและจินตนาการของมนุษย์

คุณสาวิตรีกล่าวว่า ‘ในลุ่มแม่น้ำโขง มีประวัติศาสตร์ที่คนเขียนไว้มากมาย แต่คนเขียนส่วนมากเป็นชาวต่างประเทศ [ตำนานพระธาตุพนม]ไม่ใช่เรื่องของประวัติศาสตร์ [แต่]คือสิ่งที่นักวิชาการสมัยปัจจุบันมองเห็นว่าเป็นตัวแทนของการเขียนประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของคนที่เป็นเจ้าของท้องถิ่น เขียนเป็นภาษาของคนแม่โขงเองด้วย ใช้อักษรของคนแม่โขงเองด้วย สำนวนก็ตรง ๆ ซื่อ ๆ’

 

Sample text in Isan Dhamma script

เนื้อหาตอนต้นจาก ‘อุรังคนิทาน’ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยเจ้าหัวพ่อบัวจัน 

(รูปถ่ายและคำถ่ายถอดโดยเอมอร เชาวน์สวน)

 

คุณเอมอรเผยว่าตนมีมารดาเชื้อสายลาว พร้อมทั้งกล่าวว่า ‘นี่เป็นเอกสารคัมภีร์ใบลานที่สำคัญมากของลาวแล้วก็อีสาน คนในแถบอีสานมีความศรัทธายั่งยืนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจากคัมภีร์ใบลานที่สืบกันมา’

 

Em-orn Chawsuan, National Library of Thailand

คุณเอมอร เชาวน์สวน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ

 

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของมรดกเอกสารนี้ในการบันทึกและเผยแพร่ความเชื่อซึ่งเชื่อมโยงกับสถานที่ที่มีคุณค่าลึกซึ้งทางจิตวิญญาณสำหรับชุมชนลุ่มน้ำโขง ยูเนสโกจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนคัมภีร์ใบลาน เรื่อง อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ซึ่งเก็บรักษาอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ ให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในปี พ.ศ. 2566

คุณเอมอรอธิบายว่า ปกติแล้วหอสมุดแห่งชาติจะเก็บเอกสารต้นฉบับเหล่านี้ไว้ในห้องควบคุมสภาพอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ในภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความชื้นเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อเอกสารโบราณ เนื่องจากเชื้อราและปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสด้วยกรดสามารถทำให้เกิดการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว หากจำเป็น แผนกอนุรักษ์เอกสารที่หอสมุดแห่งชาติจะใช้กาวไร้กรดและกระดาษสาบาง ๆ เคลือบหลาย ๆ ชั้นเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับเอกสารโบราณ อาทิ สมุดไทยและคัมภีร์ใบลาน

ความพยายามในการอนุรักษ์ที่พิถีพิถันเช่นนี้เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน เพราะในอดีต การคัดลอกและเผยแพร่คัมภีร์ใบลานเปรียบเสมือนการทำให้เรื่องราวศักดิ์สิทธิ์สามารถมีชีวิตใหม่ได้เรื่อย ๆ คุณสาวิตรีกล่าวว่า ‘เราก็ไม่ไปติดต่อกับฉบับเดิม’

 

Savitri Suwansathit

คุณสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก

 

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประเพณีที่มีมาช้านานในการคัดลอกและเผยแพร่คัมภีร์ใบลานนั้นสะท้อนถึงหลักคำสอนทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับความไม่จีรังของสรรพสิ่งในโลกนี้ แต่แน่นอน สิ่งที่จีรังก็คือความศรัทธาของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเปรียบประหนึ่งเปลวไฟที่ลุกโชนเมื่อสมาชิกชุมชนแต่ละรุ่นรับแรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าเหนือกาลเวลา และส่งต่อแก่นสารสาระและศิลปะการสื่อความหมายในรูปของเอกสารที่กังวานไกลด้วยสุนทรียภาพและจิตวิญญาณ


บทความฉบับภาษาไทยนี้แปลโึϸผู้เขียนจาก

#DocumentaryHeritage #MemoryOfTheWorld

ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ห้ามนำไปใช้หรือทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์

More from UNESCO Bangkok

About the authors

ชัยรัตȨ จงวัոกิจ
ชัยรัตȨ
จงวัոกิจ

ชัยรัตȨ จงวัոกิจ เป็นที่ปรึกษาสัญชาติไทย-แคนาดา เชี่ยวชาญด้านการสร้างเนื้อหาให้กับกลุ่มงานข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ที่สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ ชัยรัตȨสนับสนุนการรายงาน การแปล การพัฒนาสื่อ และโครงการที่เกี่ยวข้องของยูเนสโกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

นอกเหนือจากประสบการณ์เป็นนักแปลมืออาชีพแล้ว ชัยรัตȨยังเป็นนักเปียโนและนักการศึกษาด้านดนตรีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยโทรอนโต ที่ซึ่งเขาได้สอนทฤษฎีดนตรีและวรรณกรรมเปียโน ชัยรัตȨได้นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และได้รับเชิญบรรยายและสอนมาสเตอร์คลาสที่มหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันดนตรียามาฮ่า กรุงเทพฯ