Glass plate negative of Phra Thinang Aisawan Thiphya-art, Bang Pa-in Palace

Story

ภาพแห่งความทรงจำ

ฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับชุดหอพระสมุดวชิรญาณเป็นขุมทรัพย์เอกสารที่ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้อย่างตราตรึงใจ

๶ขียนโดย

ชัยรัตน์ จงวัฒนกิจ
ที่ปรึกษา
กลุ่มงานข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพัȨ์
สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ 

ทุกคȨยุึϸายใจชั่วขณะตั้งตาคอยึϹวยความตื่น๶ต้น

ภายในกล่องไม้สักทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าอายุกว่าร้อยปีที่วางอยู่บนโต๊ะ มีฟิล์มกระจกที่บอบบางจำนวน 60 แผ่นเรียงกันอยู่เป็นแถวอย่างเรียบร้อย คุณสุมงคล สัวเห็ม เจ้าหน้าที่ชำนาญงานจากกลุ่มอนุรักษ์เอกสาร สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สวมชุดพิเศษสำหรับโอกาสนี้โดยเฉพาะ ใช้ถุงมือหยิบจับฟิล์มกระจกอย่างระมัดระวัง ค่อย ๆ นำมาส่องไฟเพื่อเผยภาพประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ด้วยความคมชัดอย่างน่าเหลือเชื่อให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม

Sumongkol Suahem lifting a glass plate negative

คุณสุมงคล สัวเห็ม กำลังหยิบจับฟิล์มกระจกอย่างระมัดระวัง

นับเป็นอาหารตาที่หาชมได้ยากจริง ๆ ปกติแล้ว ฟิล์มกระจกอันล้ำค่าเหล่านี้จะได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างมิดชิดในห้องควบคุมสภาพอากาศ ทั้งนี้ ฟิล์มกระจกในกล่องไม้สักใบนี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวของคลังสะสมขนาดมหึมาที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติดูแลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 และได้รับการสงวนรักษาอย่างแข็งขันจนแม้กระทั่งคุณณิชชา จริยเศรษฐการ ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า ‘ขนาด ผอ. เขายังไม่ค่อยให้เข้าเลย’

The storage room for glass plate negatives, National Archives of Thailand

ห้องเก็บรักษาฟิล์มกระจก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

คลังสะสมฟิล์มกระจกกว่า 35,000 แผ่น และภาพต้นฉบับประมาณ 50,000 ภาพ ซึ่งบันทึกประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2398 ถึง พ.ศ. 2478 เดิมทีเป็นคลังสะสมส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ต่อมาได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่หอพระสมุดวชิรญาณ ซึ่งมีวิวัฒนาการมาเป็นหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน เนื่องจากคลังสะสมดังกล่าวบันทึกช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนาน ภาพถ่ายบางภาพจึงสะท้อนถึงสารัตถะตามสภาพของช่วงอายุขัยของมนุษย์ เช่น ภาพถ่ายหนึ่งเผยพระรูปสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432-2468) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขณะทรงพระสำราญครั้นทรงพระเยาว์

The young Prince Asdang Dejavudh

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ เมื่อทรงพระเยาว์

แต่ที่น่าสะเทือนใจคือ ภาพถ่ายอีกภาพในคลังสะสมนี้บันทึกภาพของพระเมรุสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ ซึ่งพระองค์เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคพระวักกะอักเสบ สิริพระชันษา 35 ปี

The crematorium of Prince Asdang Dejavudh

พระเมรุสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ

คุณณิชชาอธิบายว่าภาพถ่ายหลายภาพถือเป็นหลักฐานเอกสารสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินพระราชพิธีต่าง ๆ ในอดีต เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพและขบวนเรือพระราชพิธี ซึ่งภาพเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสืบสานราชประเพณีมาจนถึงปัจจุบัน

Royal barges at Wat Arun, 25 October 1907

เรือพระราชพิธี ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2450

ภาพถ่ายอื่น ๆ บันทึกการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งคราวนั้นพระองค์ได้เสด็จฯ ไปพบกับอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์กแห่งเยอรมนี และได้เข้าเฝ้าฯ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียเพื่อดำเนินกลยุทธ์สานสัมพันธไมตรีและต่อต้านการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส

King Chulalongkorn meets Otto von Bismarck in Hamburg, 1897

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปพบกับอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ก ณ นครฮัมบูร์ก พ.ศ. 2440

King Chulalongkorn and Tsar Nicholas II in St. Petersburg, 1897

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พ.ศ. 2440

ภาพถ่ายในคลังสะสมนี้ไม่เพียงบันทึกเหตุการณ์พิเศษที่มีความสำคัญระดับชาติหรือระดับนานาชาติเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตประจำวันในพระราชวังได้แบบเข้าถึงใกล้ชิด แม้ข้าราชบริพารบางคนในช่วงเวลานั้นจะมีความเชื่อว่าเมื่อถูกถ่ายภาพแล้วจะโดนดูดวิญญาณไปและทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2394-2411) และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2411-2453) ทรงรับเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่นี้ด้วยความกระตือรือร้น คุณสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนให้สตรีในพระราชสำนักฝ่ายในฝึกถ่ายภาพ และพระสนมเอกทั้งห้าจากสายราชินิกุลบุนนาค (ได้รับการขนานนามร่วมกันว่า ‘เจ้าจอมก๊กออ’) ได้รับการยกย่องเป็นพิเศษในด้านทักษะและศิลปะการถ่ายภาพ

Chaochom Erb preparing to take a photo of her father

เจ้าจอมเอิบ (เจ้าจอมท่านหนึ่งใน ‘เจ้าจอมก๊กออ’) เตรียมถ่ายภาพเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ผู้เป็นบิดา

ภาพถ่ายหนึ่งที่หาชมได้ยากคือ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชอิริยาบถส่วนพระองค์ ขณะทอดพระเนตรออกไปนอกหน้าต่างพระที่นั่งวิมานเมฆพลางทรงพระราชดำริ ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากพระบรมฉายาลักษณ์อย่างเป็นทางการที่ฉลองพระองค์เต็มพระยศ จนทำให้ผู้ชมภาพถ่ายนี้รู้สึกเหมือนกำลังขัดจังหวะช่วงเวลาส่วนพระองค์ที่ไม่ค่อยมีใครเคยได้เห็น

King Chulalongkorn at Vimanmek Mansion

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ

คลังสะสมนี้ยังประกอบไปด้วยภาพถ่ายตระการตาของสถานที่ต่าง ๆ ในใจกลางประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯ เช่น สะพานหันเดิมสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1, ครองราชย์ พ.ศ. 2325-2352) ปลายสะพานข้างหนึ่งสามารถหันเพื่อเปิดทางให้เรือผ่านได้ ต่อมาสะพานนี้ได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะจากเดิมหลายครั้ง ครั้งสำคัญคือเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ออกแบบสะพานหันใหม่ โดยสะท้อนลักษณะเด่นของสะพานที่มีเอกลักษณ์ 2 แห่งในประเทศอิตาลี กล่าวคือ โครงสร้างทรงโค้งแบบสะพานริอัลโตในเมืองเวนิส และร้านค้าต่าง ๆ ที่เรียงรายอยู่ทั้ง 2 ฟากแบบสะพานเวคคิโอในเมืองฟลอเรนซ์

Saphan Han, as rebuilt during the reign of King Chulalongkorn

สะพาȨันที่สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเึϹจพระจุลจอม๶กล้า๶จ้าอยู่หัว&Բ;

ทุกวันนี้ ผู้ที่มาเยี่ยมชม เดินเล่นริมคลองโอ่งอ่าง (ซึ่งได้รับการปรับภูมิทัศน์ให้เป็นถนนคนเดินในปี พ.ศ. 2562 และผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว) อาจจะเดินข้ามสะพานหัน (ซึ่งปัจจุบันมีรูปลักษณ์ที่ค่อนข้างเรียบง่าย) โดยไม่ตระหนักถึงความรุ่งโรจน์สง่างามของสะพานนี้ในอดีตเลย

Saphan Han in December 2023

สะพานหันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566

นอกจากนี้ ก็มีภาพของคลองมหานาค ซึ่งสร้างขึ้นพร้อมกับคลองโอ่งอ่างในปี พ.ศ. 2326 โดยต้นคลองอยู่ทางด้านทิศเหนือของภูเขาทอง วัดสระเกศ

View of the Golden Mount from Maha Nak Canal

ทิวทัศȨภู๶ขาทองจากคลองมหานาค

๶ราจะ๶ห็ȨึϹว่าคลองมหาȨคใȨึϸตเป็Ȩส้Ȩางสัญจรสำคัญที่คึกคักไปด้วยการค้าྺาย

The historic Maha Nak Canal

คลองมหานาคในอดีต

ปัจจุบัน คลองมหานาค-แสนแสบยังคงเป็นเส้นโลหิตทางคมนาคมที่สำคัญสำหรับผู้สัญจรนับหมื่นคนทุกวัน ผู้ที่เดินริมคลองมหานาคในช่วงเร่งด่วนยามเช้าจะเห็นเรือด่วนแล่นผ่านไปมาด้วยความถี่ที่อึกทึก

View of Maha Nak Canal from Mahat Thai Uthit Bridge in December 2023

ทิวทัศน์คลองมหานาคจากสะพานมหาดไทยอุทิศในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566

อีกภาพถ่ายที่น่าสนใจเผยให้เห็นโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุงเมื่อเริ่มเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งในสมัยนั้นยังมีบริการรถรางระบบไฟฟ้าบนถนนเจริญกรุง

The newly opened Sala Chalermkrung in 1933

ศาลาเฉลิมกรุงเมื่อเริ่มเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2476

ศาลาเฉลิมกรุงเปิดฉายภาพยนตร์เสียงเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ปัจจุบัน ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในด้านการจัดแสดงโขน ซึ่งยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนให้โขนเป็นรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติในปี พ.ศ. 2561

Sala Chalermkrung in December 2023

ศาลาเฉลิมกรุงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566

ปัจจุบัน เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดแห่งหนึ่ง แต่ในอดีต นี่คือสถานที่จัดพิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย เพื่อรับเสด็จพระอิศวรและพระวิษณุตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นพิธีที่อันตรายและมักเกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต พิธีโล้ชิงช้าจึงถูกยกเลิกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7, ครองราชย์ พ.ศ. 2468-2478)

The swing ceremony in an earlier time

พิธีโล้ชิงช้าใȨึϸต

เมื่อเราตระหนักถึงบริบททางประวัติศาสตร์นี้ ซึ่งบันทึกเป็นภาพถ่ายที่ตรึงวินาทีแห่งการท้าทายความตายไว้ได้อย่างน่าทึ่ง เราก็จะสามารถเยี่ยมชมเสาชิงช้าในปัจจุบันด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่าสถานที่นี้มีบทบาทสำคัญเช่นไรต่อชีวิตวัฒนธรรมของมหานครที่มีเรื่องราวมากมายแห่งนี้

The base of the Giant Swing in December 2023

เสาชิงช้าในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566

หากไร้ภาพประวัติศาสตร์อันล้ำค่าเหล่านี้ ความทรงจำร่วมและความเข้าใจของเราเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างอดีตกับปัจจุบันคงจะขาดความสมบูรณ์อย่างน่าเสียดาย ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของมรดกเอกสารนี้ ทั้งในเนื้อหาและพาหะของเนื้อหาดังกล่าว (กล่าวคือ ฟิล์มกระจกเป็นเทคโนโลยีโบราณในการบันทึกภาพถ่ายก่อนมีการใช้ฟิล์มถ่ายภาพอย่างแพร่หลาย) ยูเนสโกจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับชุดหอพระสมุดวชิรญาณเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในปี พ.ศ. 2560

เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก คุณณิชชากล่าวว่า ภาพถ่ายทั้งหมดได้รับการสแกนและจัดหมวดหมู่เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง ทั้งยังสงวนรักษาเอกสารต้นฉบับอีกด้วย

Nitcha Jariyasetkarn holding mounted prints of Prince Damrong Rajanubhab

คุณณิชชา จริยเศรษฐการ ถือพระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นอกจากนี้ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมรดกเอกสารนี้ด้วยการจัดนิทรรศการ (โดยยังสามารถชม ในรูปแบบเสมือนจริงได้) และด้วยการจัดพิมพ์ภาพจากฟิล์มกระจกพร้อมคำบรรยายเป็นหนังสือ 2 เล่ม

คุณณิชชากล่าวว่า อาจไม่ชัดเจนเสมอไปว่าภาพถ่ายภาพหนึ่งแสดงให้เห็นถึงบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ดังนั้น สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชาเพื่อตกผลึกคำบรรยายที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพถ่ายนั้นได้ดีที่สุด ในอนาคตอันใกล้นี้ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติวางแผนที่จะเปิดตัวแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อรวบรวมข้อมูลจากสาธารณชน (ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการบรรยายภาพ

ด้วยเนื้อหาที่หลากหลาย ถ่ายทอดผ่านสื่อภาพที่เข้าถึงง่ายและตราตรึงใจ ฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับชุดหอพระสมุดวชิรญาณสามารถเปิดโลกให้ผู้ที่ใคร่รู้ได้สัมผัสเรื่องราวที่น่าสนใจ เรื่องราวซึ่งสื่อถึงช่วงชีวิตอันแสนสั้นของแต่ละบุคคล เมื่อพิจารณาบนฉากหลังของแก่นสารสาระในภาพใหญ่ที่สะท้อนถึงความเพียรพยายามของมนุษย์จากรุ่นสู่รุ่นในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศชาติที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลวัต


บทความฉบับภาษาไทยนี้แปลโึϸผู้เขียนจาก

#DocumentaryHeritage #MemoryOfTheWorld

ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ห้ามนำไปใช้หรือทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์

๶กี่ยวกับผู้เขียน

ชัยรัตน์ จงวัฒนกิจ

ชัยรัตน์ จงวัฒนกิจ เป็นที่ปรึกษาสัญชาติไทย-แคนาดา เชี่ยวชาญด้านการสร้างเนื้อหาให้กับกลุ่มงานข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพัȨ์ที่สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ ชัยรัตน์สนับสนุนการรายงาน การแปล การพัฒนาสื่อ และโครงการที่เกี่ยวข้องของยูเนสโกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

นอกเหนือจากประสบการณ์เป็นนักแปลมืออาชีพแล้ว ชัยรัตน์ยังเป็นนักเปียโนและนักการศึกษาด้านดนตรีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยโทรอนโต ที่ซึ่งเขาได้สอนทฤษฎีดนตรีและวรรณกรรมเปียโน ชัยรัตน์ได้นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และได้รับเชิญบรรยายและสอนมาสเตอร์คลาสที่มหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันดนตรียามาฮ่า กรุงเทพฯ

More from UNESCO Bangkok